ข้อมูลทั่วไป


โพธิ์ชัย  เป็นอำเภอขนาดกลาง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดร้อยเอ็ด โดยอยู่ห่างจาก    จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นระยะทาง 60 กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมด 424 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 265,200 ไร่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแบ่งการปกครองออกจากอำเภอโพนทอง เป็นกิ่งอำเภอโพธิ์ชัย    เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2517 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ วันที่ 25 มีนาคม 2522 

ประวัติและที่ตั้งอำเภอโพธิ์ชัย  โพธิ์ชัย  เป็นอำเภอขนาดกลาง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดร้อยเอ็ด โดยอยู่ห่างจาก    จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นระยะทาง 60 กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมด 424 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 265,200 ไร่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแบ่งการปกครองออกจากอำเภอโพนทอง เป็นกิ่งอำเภอโพธิ์ชัย       เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2517 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ วันที่ 25 มีนาคม 2522 โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ       ติดต่อกับ   อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศใต้      ติดต่อกับ  อำเภอเชียงขวัญ และอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ   อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ   อำเภอร่องคำ  จังหวัดกาฬสินธุ์




การปกครอง  แบ่งการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 112หมู่บ้าน และมีจำนวนหลังคาเรือน 13,169 หลังคาเรือน  ในพื้นที่เทศบาลตำบล 4 แห่ง  องค์การบริหารส่วนตำบล  6  แห่ง โรงเรียนรัฐบาล 33 แห่ง เอกชน 1แห่ง 

ประชากร  อำเภอโพธิ์ชัย มีประชากรทั้งหมด 58,118คน โดยแยกเป็นชาย  29,050 คน ร้อยละ 49.98และเป็นหญิง 29,068 คน ร้อยละ50.02 ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย135 คนต่อตารางกิโลเมตร     รายละเอียดประชากรจำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ

เศรษฐกิจและสังคม   ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  โดยมีรายได้เฉลี่ย  20,000 บาท/คน/ปี    มีอาชีพเสริมในการปลูกยางพารา อ้อย และมันสำปะหลัง ส่วนการนับถือศาสนา พบว่าเกือบร้อยละ 100 นับถือศาสนาพุทธ มีพระภิกษุ/สามเณร 153 รูป วัด66แห่ง สำนักสงฆ์ 20 แห่ง

ด้านการศึกษา  มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานประถมศึกษา 30 แห่ง   และโรงเรียนสาขา1แห่ง   และมีโรงเรียนมัธยมศึกษา2แห่ง รวมทั้งหมด 33 แห่ง โรงเรียนเอกชน 1 แห่ง 

สถานบริการสาธารณสุข      อำเภอโพธิ์ชัยมีโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง1 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9 แห่ง (ขนาดใหญ่ 2 แห่ง, ขนาดกลาง 7 แห่ง) โดยมีสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเป็นหน่วยงานบริหารราชการสาธารณสุขในระดับอำเภอ เพื่อทำหน้าที่ในการดูแล ควบคุม กำกับ สนับสนุนและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัด และมีการประสานงานในรูปแบบคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) และคณะกรรมการบริหารหน่วยคู่สัญญาหลักสำหรับบริการปฐมภูมิ (CUP)